การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town)

โครงการส่งเสริมโรงงานอุตสาหกรรมให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืน (CSR Beginner and CSR-DIW) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 (ภายใต้ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ)

หลักการและเหตุผล

กรมโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของกระทรวงอุตสาหกรรม รวมทั้งการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรไปสู่ความเป็นองค์กรที่มีสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและชุมชนที่อยู่อาศัยบริเวณโดยรอบ ดังนั้นกระทรวงอุตสาหกรรมโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้กำหนดแนวทางให้การประกอบกิจการอุตสาหกรรมเกิดความไว้วางใจจากภาคประชาชน พึ่งพาอาศัย เกื้อกูลกัน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุขเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดี เพื่อให้ประเทศไทยในฐานะที่เป็นฐานการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญก็จะต้องมีการพัฒนาและเติบโตร่วมกันระหว่างภาคเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม อย่างสมดุลและยั่งยืน ตลอดจนสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการสร้างวิสาหกิจชุมชนขนาดเล็ก (Small Social Enterprise) เพื่อพัฒนาสู่นโยบาย SMEs 4.0 ของรัฐบาลต่อไป

กรมโรงงานอุตสาหกรรม จึงได้กำหนดให้มีกิจกรรมส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมได้มีการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมตามยุทธศาสตร์ของกระทรวงอุตสาหกรรม ดำเนินการจัดทำโครงการส่งเสริมให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมมีความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility, Department of Industry Work (CSR-DIW)) อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปัจจุบัน จำนวนทั้งสิ้น 956 โรงงาน และเพื่อให้มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน ตัวชี้วัดเป้าหมายแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) จำนวนพื้นที่ที่ได้รับการพัฒนาสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จำนวน 15 จังหวัด 18 พื้นที่ ซึ่งตัวชี้วัดการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนเวศ ระดับที่ 1 ตัวชี้วัดที่ 19.1.1 และ ระดับที่ 3 ตัวชี้วัดที่ 12.1.1 และระดับที่ 4 ตัวชี้วัดที่ 17.1.1 ได้กำหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับรางวัล CSR Beginner หรือ CSR-DIW เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินงาน โดยในปัจจุบันในพื้นที่ดังกล่าว มีโรงงานทั้งสิ้น 6,033 โรงงาน และได้มาตรฐานตั้งแต่อุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) ระดับ 2 ขึ้นไปรวม CSR Beginner จำนวน 1,642 โรงงาน และได้รับ CSR-DIW จำนวน 216 โรงงาน และเพื่อให้พื้นที่ทั้ง 15 จังหวัด 18 พื้นที่ ผ่านเกณฑ์คะแนนตัวชี้วัดที่ 19.1.1 ในคะแนนที่ 4 จำเป็นจะต้องมีโรงงานที่ได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว ตั้งแต่ระดับ 2 ขึ้นไป หรือ CSR Beginner จำนวนไม่น้อยกว่า 1,810 โรงงาน ดังนั้นจะต้องพัฒนาโรงงานให้ได้รับการรับรองเพิ่มเติมอีก 168 โรงงาน ภายในระยะเวลา 3 ปี (พ.ศ.2562-2564) และคะแนนตัวชี้วัด 17.1.1 ในคะแนนที่ 4 จำเป็นจะต้องมีโรงงานที่ได้รับการรับรองมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงงานอุตสาหกรรม CSR-DIW จำนวนไม่น้อยกว่า 1,810 โรงงาน (ข้อมูลจาการรายงานการประชุมคณะกรรมการชำนาญการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนเวศ ครั้งที่ 1-1/2561 ณ วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2561) ดังนั้น จะต้องพัฒนาโรงงานให้ได้รับการรับรองเพิ่มเติมอีก 1,594 โรงงาน ภายในระยะเวลา 8 ปี (พ.ศ.2562-2569)

ดังนั้น ตามแผนการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 10 ปี (พ.ศ.2559-2569) กรมโรงงานอุตสาหกรรมจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมโรงงานอุตสาหกรรมให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืน (CSR Beginner and CSR-DIW) นี้เพื่อสนับสนุนให้โรงงานอุตสาหกรรมใน 15 จังหวัด 18 พื้นที่ เป้าหมายของการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศนำหลักเกณฑ์ CSR Beginner และ CSR-DIW ไปประยุกต์ใช้เพื่อสนับสนุนให้พื้นที่เป้าหมายผ่านเกณฑ์การประเมินความเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระดับที่ 3 ภายในปี พ.ศ. 2564

วัตถุประสงค์

  1. ส่งเสริมการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) แก่ผู้ประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรม
  2. เกิดความร่วมมือกันระหว่างผู้ประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมกับชุมชน ทำให้มีการพึ่งพากันในสังคม (Social Symbiosis) และขับเคลื่อนการพัฒนาในพื้นที่เป็นไปอย่างยั่งยืน
  3. เสริมสร้างวิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดกลางให้มีศักยภาพสามารถแข่งขันในตลาดการค้าและสนัสนุนให้วิสาหกิจเหล่านั้นมีความเข้มแข็ง สนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการสร้างวิสาหกิจชุมชนขนาดเล็ก (Small Social Enterprise) เพื่อพัฒนาสู่นโยบาย SMEs 4.0 ของรัฐบาลต่อไป
  4. สนับสนุนให้พื้นที่เป้าหมายผ่านเกณฑ์การประเมินความเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระดับที่ 3 ภายในปี พ.ศ. 2564

กลุ่มเป้าหมาย

โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดย่อม ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 15 จังหวัด 18 พื้นที่ ประกอบด้วย จังหวัดระยอง จังหวัดชลบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดปทุมธานี จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสระบุรี จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดขอนแก่น จังหวัดราชบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดสงขลา

ขอบเขตการดำเนินงาน

  1. จัดพิมพ์คู่มือมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของกรมโรงงานอุตสาหกรรม (CSR-DIW) พร้อมแผ่นบันทึกข้อมูล (DVD) จำนวน 500 ชุด และคู่มือแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมตามเกณฑ์มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของกรมโรงงานอุตสาหกรรม (CSR-DIW) พร้อมแผ่นบันทึกข้อมูล (DVD) จำนวน 500 ชุด
  2. เชิญชวนรับสมัคร พร้อมคัดเลือกโรงงานอุตสาหกรรม เข้าร่วมโครงการ กลุ่ม CSR Beginner จำนวนไม่น้อยกว่า 380 โรงงาน และกลุ่ม CSR-DIW จำนวนไม่น้อยกว่า 45 โรงงาน
  3. เผยแพร่ความรู้ (Focus Group Training) มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของกรมโรงงานอุตสาหกรรม (CSR-DIW) ให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมกลุ่ม CSR Beginner และ CSR-DIW เพื่อเตรียมความพร้อมความข้าใจเกณฑ์มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของกรมโรงงานอุตสาหกรรม (CSR-DIW) ดังนี้

กลุ่ม CSR Beginner จัดให้มีการเผยแพร่ความรู้และความเข้าใจมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของกรมโรงงานอุตสาหกรรม (CSR-DIW) แบบกลุ่ม (Focus Group Training) ให้กับผู้แทนของโรงงานอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครงการ จำนวไม่น้อยกว่า 380 โรงงาน จำนวนอย่างน้อย 1 ครั้ง

กลุ่ม CSR-DIW จัดให้มีการเผยแพร่ความรู้และความเข้าใจมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของกรมโรงงานอุตสาหกรรม (CSR-DIW) แบบกลุ่ม (Focus Group Training) ให้กับผู้แทนโรงงานอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครงการิจำนวนไม่น้อยกว่า 45 โรงงาน ไม่น้อยกว่า 2 วัน

  1. ให้คำปรึกษา (Coaching) ให้ความรู้ด้านการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของกรมโรงงานอุตสาหกรรม (CSR-DIW) แก่โรงงานในกลุ่ม CSR Beginner และโรงงานในกลุ่ม CSR-DIW ดังนี้

กลุ่ม CSR Beginner จัดให้คำปรึกษา (Coaching) ให้ความรู้ด้านการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของกรมโรงงานอุตสาหกรรม (CSR-DIW) แบบกลุ่ม (Group Training) จำนวนอย่างน้อย 1 ครั้ง จำนวนไม่น้อยกว่า 380 โรงงาน

กลุ่ม CSR-DIW จัดให้คำปรึกษา (Coaching) ให้ความรู้ด้านการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของกรมโรงงานอุตสาหกรรม (CSR-DIW) ณ สถานประกอบการ โดยมีระยะเวลาในการให้คำปรึกษารวมทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 180 วัน-คน (Man-Day) จำนวนไม่น้อยกว่า 45 โรงงาน

  1. การทวนสอบ (Verification) โรงงานกลุ่ม CSR Beginner และโรงงานกลุ่ม CSR-DIW ดังนี้

กลุ่ม CSR Beginner ทวนสอบ (Verification) โดยผู้ทวนสอบตามมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของกรมโรงงานอุตสาหกรรม (CSR-DIW) ไม่น้อยกว่า 1 ครั้งต่อโรงงาน ณ สถานประกอบการ โดยแบ่งการทวนสอบ (Verification) เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 ทวนสอบหัวข้อหลักด้านการกำกับดูแลองค์กร และ/หรือหัวข้อหลักด้านสิ่งแวดล้อมและ/หรือหัวข้อหลักด้านการมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน ตามมาตรฐานความรับิดชอบต่อสังคมของกรมโรงงานอุตสาหกรรม (CSR-DIW) โดยที่ปรึกษาฯไม่น้อยกว่า 1 ครั้งต่อโรงงาน ณ สถานประกอบการ จำนวนไม่น้อยกว่า 330 โรงงาน

กลุ่มที่ 2 ทวนสอบหัวข้อหลักด้านการกำกับดูแลองค์กร และ/หัวข้อหลักด้านการมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชนตามมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของกรมโรงงานอุตสาหกรรม (CSR-DIW) โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ไม่น้อยกว่า 1 ครั้งต่อโรงงาน ณ สถานประกอบการ จำนวนไม่น้อยกว่า 50 โรงงาน

กลุ่ม CSR-DIW ทวนสอบ (Verification) โดยผู้ทวนสอบตามมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของกรมโรงงานอุตสาหกรรม (CSR-DIW) ของที่ปรึกษาไม่น้อยกว่า 180 คน-วัน (Man-Day) ณ สถานประกอบการ จำนวนไม่น้อยกว่า 45 โรงงาน

  1. จัดทำรายงานผลการทวนสอบโรงงานอุตสาหกรรมกลุ่ม CSR Beginner และนำเสนอคณะกรรมการส่งเสริมโรงงานอุตสาหกรรมให้มีความรับชอบต่อสังคมและอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน ให้ความเห็นชอบ เพื่อรับเกียรติบัตร CSR Beginner และผลการตัดสินของคณะกรรมการฯ ถือเป็นที่สิ้นสุด
  2. จัดทำรายงานผลการทวนสอบโรงงานอุตสาหกรรมกลุ่ม CSR-DIW และนำเสนอคณะกรรมการส่งเสริมโรงงานอุตสาหกรรมให้มีความรับชอบต่อสังคมและอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน ให้ความเห็นชอบ เพื่อรับโล่รางวัล และเกียรติบัตร CSR-DIW Award และผลการตัดสินของคณะกรรมการฯ ถือเป็นที่สิ้นสุด
  3. ปรับปรุงฐานข้อมูลในเว็บไซต์ http://ecocenter.diw.go.th/csr ที่ดำเนินงานตามแนวทางมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของกรมโรงงานอุตสาหกรรม (CSR-DIW)
  4. การจัดงานสรุปผลการดำเนินงาน พร้อมมอบโล่รางวัล และเกียรติบัตร ให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครงการ สถานที่จัดงานมอบรางวัล

ระยะเวลาดำเนินโครงการ

กุมภาพันธ์ 2562- พศจิกายน 2562

ผู้ดำเนินการโครงการ

สถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

หน่วยงานสนับสนุนโครงการ / งบประมาณ

กองพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ  กรมโรงงานอุตสาหกรรม

อัลบั้มภาพ

ความร่วมมือระหว่างการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ดาวน์โหลดข้อมูลเพิ่มเติม