โครงการประเมินการใช้น้ำบาดาลตลอดวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Water Footprint)
ฟุตพริ้นท์ (Footprint)
วอร์เตอร์ฟุตพริ้นท์ (Water Footprint)
โครงการประเมินการใช้น้ำบาดาลตลอดวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Water Footprint)
หลักการและเหตุผล
สถาบันฯ มีนโยบายส่งเสริมให้การประเมินวอเตอร์ฟุตพรินต์ (Water Footprint) ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งการส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมนำแนวคิดการประเมินวอเตอร์ฟุตพรินต์มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เห็นจุดที่มีการใช้น้ำสูง (hot spot) และสามารถพิจารณาหาแนวทางลดการใช้น้ำได้อย่างมีนัยสำคัญและเป็นการสร้างความตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรน้ำรวมทั้งเกิดประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประชาชนในพื้นที่รอบๆ โรงงาน โดยได้ดำเนินงานร่วมกับโรงงานอุตสาหกรรมนำร่อง จำนวน 15 แห่ง ภายใต้โครงการประเมินการใช้น้ำบาดาลตลอดวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Water Footprint) ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาน้ำบาดาลกรมทรัพยากรน้ำบาดาล
วัตถุประสงค์
1) เพื่อส่งเสริมการประเมินวอเตอร์ฟุตพรินต์ ตามมาตรฐาน ISO 14046 ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในภาคอุตสาหกรรม และเหมาะสมกับประเทศไทย
2) เพื่อเตรียมความพร้อมบุคลากรของโรงงานอุตสาหกรรมให้มีความรู้ ความสามารถในการประเมินวอเตอร์ฟุตพรินต์
3) เพื่อศึกษาค่าวอเตอร์ฟุตพรินต์ของผลิตภัณฑ์ โดยนำไปเปรียบเทียบกับค่า Benchmark ที่เหมาะสม (ถ้ามี) รวมทั้งหาสัดส่วนการใช้น้ำบาดาล/น้ำผิวดินของการผลิตผลิตภัณฑ์ และหาแนวทางในการลดการใช้น้ำบาดาลเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์น้ำบาดาลได้
4) เพื่อพัฒนาผู้เชี่ยวชาญ และเครือข่ายด้านการประเมินวอเตอร์ฟุตพรินต์ของประเทศไทย
กลุ่มเป้าหมาย
โรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้น้ำบาดาล (หรือมีการใช้น้ำบาดาลร่วมกับน้ำผิวดิน) และมีการใช้น้ำในกระบวนการผลิตสูง หรือมีการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้น้ำในปริมาณสูงในช่วงการใช้งานผลิตภัณฑ์ (Use Phase) ของประเทศ
ขอบเขตการดำเนินงาน
1) การประชาสัมพันธ์โครงการฯ และการคัดเลือกโรงงานอุตสาหกรรมนำร่อง ซึ่งต้องเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้น้ำบาดาล (หรือมีการใช้น้ำบาดาลร่วมกับน้ำผิวดิน)
2) อบรมให้ความรู้ด้านการประเมินวอเตอร์ฟุตพรินต์ให้แก่ผู้สนใจ เครือข่ายนักวิชาการ และนักอุตสาหกรรม
3) การเข้าให้คำปรึกษาเชิงลึกกับโรงงานอุตสาหกรรมนำร่อง
4) การประเมินวอเตอร์ฟุตพรินต์ ตามมาตรฐาน ISO 14046 และการศึกษาแนวทางลดการใช้น้ำบาดาล (รวมทั้งน้ำผิวดิน) จากกระบวนการผลิตหรือจากช่วงการใช้งานของผลิตภัณฑ์
5) การทวนสอบข้อมูล และการให้การรับรองเบื้องต้นการประเมินวอเตอร์ฟุตพรินต์
6) การสัมมนาเผยแพร่ผลสำเร็จการดำเนินโครงการฯ
ผลการดำเนินงาน
ผลการดำเนินโครงการฯ สถาบันฯ ได้จัดทำคู่มือแนวทางการประเมินวอเตอร์ฟุตพรินต์ผลิตภัณฑ์ คู่มือการตรวจ และคู่มือระบบการให้การรับรองวอเตอร์ฟุตพรินต์ผลิตภัณฑ์ โดยนำร่องข้อกำหนดเฉพาะของกลุ่มผลิตภัณฑ์ (Product Category Rule : PCR) จำนวน 12 กลุ่ม 44 ผลิตภัณฑ์
ผลการขยายผล ในปี 2561 มีการรับรองและออกเอกสารรับรองวอเตอร์ฟุตพรินต์ให้กับผลิตภัณฑ์
นำร่อง จำนวน 15 ผลิตภัณฑ์ ภายใต้โครงการฯ และผลิตภัณฑ์อื่นๆที่สนใจและยื่นขอรับการรับรองวอเตอร์ฟุตพรินต์ โดยมีผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรองวอเตอร์ฟุตพรินต์จำนวน 44 ผลิตภัณฑ์จากโรงงานอุตสาหกรรม 26 แห่ง
ประโยชน์ที่จะได้รับ
- ได้ตัวอย่างบัญชีรายการสิ่งแวดล้อมและฐานข้อมูลการใช้น้ำของกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย
- ส่งเสริมให้เกิดการใช้น้ำบาดาล (รวมทั้งน้ำผิวดิ) และพลังงาน อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการลดปริมาณการใช้น้ำบาดาล (รวมทั้งน้ำผิวดิ) ทำให้สามารถลดต้นทุนในการผลิตและบริการและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ
- เกิดระบบการประเมินการใช้น้ำตลอดวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Water Footprint) ที่เป็นรูปธรรมและเหมาะสมสำหรับประเทศไทย
- ทำให้เกิดภาพลักษณ์ และทัศนคติที่ดีต่อภาคอุตสาหการรม ในการให้ความสำคัญในการใช้น้ำบาดาล (รวมทั้งน้ำผิวดิ) อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดความเข้าใจที่ดีและการยอมรับระหว่างภาคอุตสาหกรรมและชุมชนโดยรอบ ทำให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนโดยรอบได้อย่างเป็นสุขและยั่งยืน
- สนับสนุนการบริหารจัดการน้ำบาดาล (รวมทั้งน้ำผิวดิน) อย่างยั่งยืน
ระยะเวลาดำเนินโครงการ
สิงหาคม 2560 – สิงหาคม 2561
ผู้ดำเนินการโครงการ
สถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
หน่วยงานสนับสนุนโครงการ/งบประมาณ
กองทุนพัฒนาน้ำบาดาล กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
ดาวน์โหลดข้อมูลเพิ่มเติม
เอกสารคู่มือ “LCI-LCA แนวปฏิบัติในการจัดทำข้อมูลวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ ในอุตสาหกรรมอาหาร”
- LCI-LCA แนวปฏิบัติในการจัดทำข้อมูลวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์น้ำตาลทรายดิบ
- LCI-LCA แนวปฏิบัติในการจัดทำข้อมูลวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์น้ำตาลทรายขาว
- LCI-LCA แนวปฏิบัติในการจัดทำข้อมูลวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์
- LCI-LCA แนวปฏิบัติในการจัดทำข้อมูลวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์น้ำมันถั่วเหลือง