โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเชิงพื้นที่ (Eco Industrial Complex)
การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town)
โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเชิงพื้นที่ (Eco Industrial Complex)
หลักการและเหตุผล
โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเชิงพื้นที่ (Eco Industrial Complex) ภายใต้ค่าใช้จ่ายการพัฒนาสู่อุตสาหกรรมสีเขียว กระทรวงอุตสาหกรรมได้ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยให้เป็นไปในแนวทางอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industry) หรือ อุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) ซึ่งเน้นการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ซึ่งนอกจากจะเน้นในเรื่องการเพิ่มผลผลิต การแข่งขันเชิงธุรกิจทางการค้าแล้ว ยังเน้นในเรื่องสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและความรับผิดชอบต่อสังคมควบคู่กันไป รวมถึงการร่วมพัฒนาชุมชนรอบข้างให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย เป็นการพัฒนาที่สร้างความสมดุลทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและสังคม ทำให้อุตสาหกรรมอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างเป็นสุขและยั่งยืน มุ่งสู่สังคมปลดปล่อยคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society)
ดังนั้น กรมโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นหน่วยงานในการกำกับดูแล และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมมีการบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า จึงได้กำหนดโครงการอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเชิงพื้นที่ (Eco Industry Complex) ขึ้น และมอบหมายให้สถาบันสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรมดำเนินงาน โดยมุ่งหวังให้เกิดการหมุนเวียนการใช้ของเสียกลับมาเป็นทรัพยากร และลดการเกิดของเสียโดยใช้เทคโนโลยีสะอาด รวมถึงส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและความร่วมมือกันระหว่างโรงงาน ชุมชน และภาครัฐ
วัตถุประสงค์
- เผยแพร่แนวทางพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
- ส่งเสริมการหมุนเวียนใช้ประโยชน์ของเสีย และลดปริมาณของเสียที่ต้องกำจัด
- ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมระดับพื้นที่
กลุ่มเป้าหมาย
- กลุ่มอุตสาหกรรม ที่ผู้ประกอบการมีความประสงค์จะพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
- ชุมชนโดยรอบพื้นที่อุตสาหกรรม
- หน่วยงานที่ได้รับมอบอำนาจในการกำกับดูแลโรงงานอุตสาหกรรม
ขอบเขตการดำเนินงาน
1 การพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเชิงพื้นที่
1.1 การรวบรวมและทบทวนข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลของพื้นที่อุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครงการ ใน 5 มิติ คือ มิติกายภาพ มิติการบริหารจัดการ มิติสังคม มิติเศรษฐกิจ และมิติสิ่งแวดล้อม (อากาศ น้ำ ของเสีย)
1.2 การจัดสัมมนาหลักการพื้นฐานการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและความรู้ที่เกี่ยวข้อง ให้แก่โรงงานและชุมชนในพื้นที่ และเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของชุมชน เพื่อประเมินผลกระทบจากการประกอบกิจการในแต่ละพื้นที่อุตสาหกรรมในปัจจุบัน รวมแล้วไม่น้อยกว่าพื้นที่ละ 10 ชั่วโมง
1.3 การจัดทำร่างแผนการพัฒนาสู่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศของแต่ละพื้นที่ตามศักยภาพและความสำคัญของแต่ละประเด็น พร้อมนำเสนอแก่ผู้พัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม โรงงานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ และชุมชนในพื้นที่
1.4 การจัดทำกระบวนการสื่อสารระหว่างโรงงาน และชุมชนเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ผ่านการประชุมกลุ่มย่อย (Eco-Forum) เป็นประจำทุกเดือน
1.5 การติดตามตรวจสอบความก้าวหน้าในการดำเนินงาน ประเมินผลการดำเนินงาน การให้คำปรึกษา ความรู้ และคำแนะนำแก่โรงงานและชุมชนในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างดำเนินการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
-
- การพัฒนาเครือข่ายในการจัดการของเสียอุตสาหกรรม: การจัดทำหลักสูตรและทำการอบรมให้ความรู้แก่ท้องถิ่นและหน่วยงานที่ได้รับมอบอำนาจในการกำกับดูแลโรงงานอุตสาหกรรมโดยรอบพื้นที่อุตสาหกรรม และการสร้างเครือข่ายในเรื่องการจัดการของเสียอุตสาหกรรม การเฝ้าระวังการลักลอบทิ้ง การติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งพัฒนาเครือข่ายเดิมที่ได้สร้างไว้ในภาคกลางและภาคตะวันออก
- การศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างพื้นที่อุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครงการ หรือพื้นที่ที่เหมาะสมเป็นตัวอย่าง
ดาวน์โหลดข้อมูลเพิ่มเติม
–