โครงการพัฒนาฐานข้อมูลสิ่งแวดล้อมของวัสดุพื้นฐาน และพลังงานของประเทศ สำหรับอุตสาหกรรมแก้วและกระจก
ฟุตพริ้นท์ (Footprint)
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint)
โครงการพัฒนาฐานข้อมูลสิ่งแวดล้อมของวัสดุพื้นฐาน และพลังงานของประเทศ สำหรับอุตสาหกรรมแก้วและกระจก
หลักการและเหตุผล
สำหรับอุตสาหกรรมแก้วและกระจก สถาบันฯ ร่วมกับ 4 หน่วยงานหลัก ได้แก่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ดำเนินโครงการพัฒนาฐานข้อมูลสิ่งแวดล้อมของวัสดุพื้นฐาน และพลังงานของประเทศ (National Life Cycle Inventory Database Development) โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อจัดทำฐานข้อมูลสิ่งแวดล้อมของวัสดุพื้นฐานและพลังงาน และพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ในเรื่องการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ซึ่งสถาบันฯ รับผิดชอบในการจัดทำฐานข้อมูลสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมแก้วและกระจก
วัตถุประสงค์
เพื่อจัดทำฐานข้อมูลสิ่งแวดล้อมของวัสดุพื้นฐาน และพลังงาน สำหรับอุตสาหกรรมแก้วและกระจกของประเทศไทย โดยเน้นข้อมูล 7 ฐานข้อมูล ดังนี้ กระจกแผ่นเรียบ (Flat Glass) กระจกนิรภัยชั้นเดียว (Tempered Safety Glass) กระจกนิรภัยหลายชั้น (Laminated Safety Glass) กระจกฉนวนความร้อน (Insulated Glass) ฉนวนใยแก้ว (Glass Fiber) ขวดแก้วใส (Flint Glass Bottle) และขวดแก้วสีชา (Amber Glass Bottle)
กลุ่มเป้าหมาย
อุตสาหกรรมแก้วและกระจก
ประโยชน์ที่จะได้รับ
จากการดำเนินการโครงการ สถาบันฯ สามารถจัดทำบัญชีรายการสิ่งแวดล้อมของสารขาเข้า (Input) และสารขาออก (Output) โดยเฉลี่ยของทั้ง 7 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งสถาบันฯ ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่ง จากสถานประกอบการอุตสาหกรรมแก้วและกระจก ที่ได้ให้การสนับสนุนข้อมูลสำหรับการดำเนินโครงการครั้งนี้ทั้งสิ้นกว่า 10 บริษัท และได้ดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้รับโดยใช้วิธีที่เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลกลางของประเทศ และปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย
ระยะเวลาดำเนินโครงการ
1 ม.ค. 2552 ถึง 30 ก.ย. 2552
ผู้ดำเนินการโครงการ
สถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)
หน่วยงานสนับสนุนโครงการ/งบประมาณ
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)
ดาวน์โหลดข้อมูลเพิ่มเติม
–